Custom Search

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

ถ้ำผาไท ลำปาง/เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน



ถ้ำผาไท ลำปาง

ถ้ำผาไท อยู่ใกล้ๆที่มำการอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท เป็นถ้ำลึกประมาณ 405 เมตร ในเขาหินปูนที่คำนวนอายุได้ไม่ต่ำกว่าเก้าสิบล้านปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เคยเสด็จประพาสเมื่อ พ.ศ. 2469 ดังปรากฏหลักฐานพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร.บนผนังถ้ำด้านขวามือ สภาพของหินงอกหินย้อยภายในถ้ำผาไทส่วนใหญ่เป็นถ้ำเป็น ซึ่งหินงอกหินย้อยที่มีมากมายยังคงเจริญเติบโต บริเวณปากถ้ำเป็นคูหากว้างซึ่งมีเสาหินขนาดใหญ่สูงหลายสิบเมตรตั้งตระหง่านเป็นเอกลักษณ์ ใกล้ๆกันนั้นมีพระพุทธรูปในปางลักษณะพิเศษคือพระหัตถ์ขวาจีบขึ้นฟ้า ไม่พบที่ใดนอกจากที่นี่ที่เดียว ภายในถ้ำ มีค้างคาวจำนวนมากอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งนี้ บริเวณใกล้เคียงมีถ้ำโจรและถ้ำเสือที่มีประวัติเก่าแก่ สามารถเดินถึงได้จากถ้ำผาไท


การเดินทางไปยังถ้ำผาไท

ถ้ำผาไท ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 1 เป็นเส้นทางจากตัวจังหวัดลำปาง-พะเยา-เชียงราย ห่างจากตัวจังหวัดลำปางมาทางจังหวัดพะเยา ประมาณ 65 กิโลเมตร อยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 665-666 จะเห็นป้ายอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ต่อจากนั้นเลี้ยวเข้าปากทางประมาณ 300 เมตร ก็ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หรือจะเดินทาง โดยใช้เส้นทางสายจังหวัดแพร่ อำเภองาว จังหวัดเชียงราย ก่อนถึงอำเภองาว แยกซ้ายสู่จังหวัดลำปาง ประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท





กิจกรรมที่น่าสนใจในถ้ำผาไท

ชมประวัติศาสตร์

เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

สิ่งน่าสนใจอื่นๆในถ้ำผาไท

ถ้ำโจรและถ้ำเสือที่มีหินงอกหินย้อยรูปทรงแปลกตาน่าชม

ช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการมาท่องเที่ยวถ้ำผาไท

ตลอดทั้งปี




คำแนะนำในการท่องเที่ยว

ถ้ำเป็นธรรมชาติที่เปราะบางอย่างยิ่ง ต่อ การกระทำของผู้บุกรุกจากโลกภายนอก นักท่องเที่ยวจึงควรหลีกเลี่ยง พฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ถ้ำ

ดังนี้ ไม่จับ แตะ สัมผัส หินงอกหินย้อยหรือสิ่งที่เกิดจากการสะสมตัวของหินปูน เพราะอาจเกิดการ แตกหัก รวม ทั้งไขมันจากผิวหนังของมนุษย์จะไปหยุดยั้งการสะสมของหินปูน

ไม่ขีดเขียนบนผนัง โขดหิน หรือสิ่งต่างๆ ภายในถ้ำ

ไม่ออกนอกเส้นทางที่จัดทำไว้ เพราะอาจสร้างความเสียหายต่อสิ่งที่เหยียบย่ำ และอาจหลงทางได้

ไม่นำสิ่งต่างๆ ออกนอกถ้ำ เพราะสิ่งเหล่านี้มีค่าเฉพาะเมื่ออยู่ในถ้ำเท่านั้น

ไม่ทิ้งขยะไว้ในถ้ำ ไม่ว่าจะเป็นขยะย่อยสลายได้ หรือย่อยสลายไม่ได้ ภายในถ้ำมีสิ่งมีชีวิต เล็กๆ อาศัยอยู่หลายชนิด การนำวัตถุแปลกปลอมจากโลกภายนอกเข้าไปในถ้ำ อาจทำให้ระบบนิเวศของ สิ่งมีชีวิตในถ้ำเปลี่ยนแปลงไป

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท หมู่ที่ 3 ต.บ้านหวด อ. งาว จ. ลำปาง 52110

โทรศัพท์ 08 3203 7330, 0 5422 0364 อีเมล reserve@dnp.go.th

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ลำปาง/เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน




อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณและพื้นที่ถูกบุกรุกแผ้วถาง มีสวนสักกระจายอยู่ทั่วไป มีพื้นที่ครอบคลุม ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอแจ้ห่ม อำเภองาว จังหวัดลำปาง ยอดเขาสูงที่สำคัญ คือ ดอยกิ่วลม สูง 1,202 เมตร รองลงมาคือ ดอยสันกลางสูง 1,022 เมตร ดอยผาหวด สูง 975 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณสลับกับป่าเต็งรัง ส่วนทิศใต้ ได้แก่ ดอยหลวง สูง 1,100 เมตรทางทิศตะวันออกของพื้นที่เป็นแหล่งผลิตผลทางด้านเกษตรกรรมที่สำคัญ ส่วนทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง น้ำจากลำห้วยและลำธารสายต่างๆ ที่ไหลไปทางทิศตะวันตกจะไหลลงสู่แม่น้ำวัง ส่วนที่ไหลไปทางด้านทิศตะวันออกจะไหลลงสู่แม่น้ำงาวเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไหลไปสมทบแม่น้ำยมทางตอนเหนือของอำเภอสอง จังหวัดแพร่

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทมีสภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูง สลับซับซ้อน มีเนื้อที่ประมาณ 758,750 ไร่ หรือ 1,214 ตารางกิโลเมตร มีจุดเด่นและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญ คือ ถ้ำผาไท หล่มภูเขียว บริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนกิ่วลม ถ้ำออกรู ห้วยแม่พลึง นอกจากนี้ยังมีน้ำตกขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ คือ ศูนย์ฝึกลูกช้าง มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 26 องศาเซลเซียส อากาศเย็นที่สุดในเดือนมกราคม ฝนตกหนักในเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม พบนกจำนวนมากกว่า 50 ชนิด เช่น นกปีกลายสก๊อต นกเขาเขียว นกเขาเปล้าธรรมดา นกเขาเปล้าหางเข็มทางภาคเหนือ เหยี่ยวขาว ฯลฯ มีแมลงหลากชนิด เช่น ผีเสื้อกลางวัน ด้วงหนวดยาว กว่างดาว ด้วงดีด เป็นต้น






การเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท

ถ้ำผาไทตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 1 เป็นเส้นทางจากตัวจังหวัดลำปาง-พะเยา-เชียงราย ห่างจากตัวจังหวัดลำปางมาทางพะเยา ประมาณ 65 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 665-666 จะเห็นป้ายอุทยานฯ ถ้ำผาไท ต่อจากนั้นเลี้ยวเข้าปากทาง 300 เมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ

หรือเดินทางโดยใช้ถนนสายแพร่-งาว-เชียงราย ก่อนถึงอำเภองาว แยกซ้ายเข้าสู่จังหวัดลำปางประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท

กิจกรรมที่น่าสนใจในอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท

- เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

- เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

- ชมประวัติศาสตร์


วัดพระธาตุลำปางหลวง ลำปาง/เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน




วัดพระธาตุลำปางหลวง

เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ เป็นวัดที่ใหญ่มาก ที่มีการวางผังไว้อย่างสวยงาม และส่วนประกอบของวัดสมบูรณ์แบบที่สุด โดยสร้างอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆที่มีกำแพงล้อมรอบจึงดูโดดเด่น หากมายืนอยู่ลานหน้าวัด จะเห็นบันใดนาคไล่ระดับขึ้นไปถึงซุ้มประตูใหญ่ ที่เรียกว่าซุ้มประตูโขงหรือมณฑป มีบานประตูเป็นแผ่นไม้สักขนาดใหญ่ และซุ้มประตูโขงนี้ก็ได้นำไปเป็น ตราสัญญลักษณ์ประจำจังหวัดลำปางในปัจจุบัน นับว่าเป็นงานศิลปกรรมที่งดงามชิ้นหนึ่งของล้านนา และเป็นต้นแบบนำไปสร้างตามวัดสำคัญๆของภาคเหนืออีกหลายแห่ง

วัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า (พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะล้านนาสลักด้วยหยกสีเขียว ทุกปีจะมีงานนมัสการพระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12 ตามคติความเชื่อของการไหว้พระธาตุปีเกิด พระธาตุลำปางหลวงเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีฉลู ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย มีสิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ บริเวณพุทธาวาสประกอบด้วย องค์พระธาตุลำปางหลวง เป็นประธาน มีบันไดนาคนำขึ้นไปสู่ซุ้มประตูโขง ถัดซุ้มประตูโขงขึ้นไปเป็น วิหารหลวง บริเวณทิศเหนือขององค์พระธาตุมีวิหารบริวารตั้งอยู่คือ วิหารน้ำแต้ม และ วิหารต้นแก้ว ด้านตะวันตกขององค์พระธาตุประกอบด้วย วิหารละโว้ และ หอพระพุทธบาท ด้านใต้มี วิหารพระพุทธ และ อุโบสถ ทั้งหมดนี้จะแวดล้อมด้วยแนวกำแพงแก้วทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงแก้วด้านใต้มีประตูที่จะนำไปสู่เขตสังฆาวาส ซึ่งประกอบด้วยอาคาร หอพระไตรปิฎก กุฏิประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า อาคารพิพิธภัณฑ์และกุฏิสงฆ์

จากประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๕ เกิดความวุ่นวายขึ้นในนครลำปางเนื่องจากการว่างเว้นผู้ครองนคร สมัยนั้นพม่าอิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้น หนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอเกาะคา)วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ น่าน



การเดินทางไปยังวัดพระธาตุลำปางหลวง

ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายลำปาง-เถิน ถึงหลักกิโลเมตรที่ 586 เลี้ยวเข้าไปจนถึงที่ว่าการอำเภอเกาะคา จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าอีก 1 กิโลเมตร หรือหากเดินทางโดย รถโดยสารประจำทาง สามารถใช้บริการรถสองแถวสีฟ้าที่ถนนรอบเวียงใกล้ตลาดออมสิน

กิจกรรมที่น่าสนใจในวัดพระธาตุลำปางหลวง

ชมวัดเก่าแก่คู่เมืองลำปาง

ไหว้พระธาตูประจำปีฉลู





สิ่งน่าสนใจอื่นๆในวัดพระธาตุลำปางหลวง

พระธาตุลำปางหลวง ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้านฐานเป็นบัวลูกแก้ว ภายนอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุน เป็นลวดลายประจำยามแบบต่าง ๆ ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศา และพระอัฐิธาตุจากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศ ปรากฏอยู่

วิหารหลวง วิหารขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2019 โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก ภายในมีซุ้มปราสาททองเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง ด้านหลังเปนที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ บนแผงไม้คอสองมีภาพจิตรกรรมเก่าแก่งดงามเรื่องทศชาติและพรหมจักร

วิหารพระพุทธ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เดิมเป็นวิหารเปิดโล่งหน้าบันเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี ภายในประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่เต็มอาคาร ก่ออิฐถือปูน ศิลปะเชียงแสน และยังปรากฏเงาพระธาตุภายในวิหารอีกด้วย

วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี (แต้มแปลว่า ภาพเขียน) สร้างเมื่อ พ.ศ.2044 เป็นวิหารเปิดโล่งที่เก่าแก่ที่สุดอีกหลังหนึ่งทางภาคเหนือ ภายในเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม ไม่มีฝ้าเพดาน กำแพงด้านพระประธานเขียนภาพลายทองบนพื้นรักแดง มีภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสองที่กล่าวกันว่าเก่าแก่ที่สุด และหลงเหลือเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา แต่ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมาก และประดิษฐานพระพุทธรูปสัมริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1.25 เมตร สูง 1.25 เมตร

ซุ้มพระบาท สร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1992 ภายในมองเห็นแสงหักเหปรากฏเป็นเงาพระธาตุและพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้น

กุฏิพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างเมื่อใด แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปีมาแล้ว

วิหารพระเจ้าศิลา เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว้ เมื่อ พ.ศ. 1275 พระบิดาของพระนางจามเทวีมอบให้ประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้

พิพิธภัณฑ์ รวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่าง ๆ ที่หาชมได้ยาก เช่นสังเค็ด ธรรมาสน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น




ประเพณีที่น่าสนใจของวัดพระธาตุลำปางหลวง

งานนมัสการพระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12

ช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการมาท่องเที่ยววัดพระธาตุลำปางหลวง

ตลอดทั้งปี

คำแนะนำในการท่องเที่ยว

ตามคติความเชื่อของการไหว้พระธาตุปีเกิด พระธาตุลำปางหลวงเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีฉลู นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุลำปางหลวงได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 07.30-17.00 น.

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ


อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน/เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน





อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของสันเขาผีปันน้ำตะวันตก ทอดตัวตามแนวทิศเหนือสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรื่อยไปทางทิศใต้จนถึงอำเภอแม่พริก ซึ่งเป็นเขตแบ่งระหว่างจังหวัดลำปางกับจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 300-2,031 เมตร ประกอบด้วย ดอยสันผักกิ้ง ดอยชายแดน ดอยแม่กา ดอยตะไคร้ ดอยต๋ง ดอยวังหลวง ดอยห้วยหลอด ผาหลักไก่ ม่อนทางเก้า ดอยแม่บึก ม่อนจวง ดอยแม่มอน และดอยแปเมือง มียอดเขาสูงที่สุดคือ ดอยลังกา

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม อำเภอเมืองปาน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีเนื้อที่ประมาณ 768 ตารางกิโลเมตร ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้น 1-A ของลุ่มน้ำวัง ประกอบด้วยลำน้ำขนาดต่างๆ จำนวนมากที่สำคัญได้แก่ น้ำแม่หมี น้ำแม่ต๋อม น้ำแม่สอย น้ำแม่มอน น้ำแม่ปาน น้ำแม่ฮะ น้ำแม่ปอม น้ำแม่บึง น้ำแม่สุ่ย และน้ำแม่ค่อม เป็นต้น และเป็นแหล่งต้นกำเนิดของลำห้วยใหญ่ๆ ที่สำคัญเป็นสาขาของแม่น้ำวัง เช่น แม่น้ำสอย ห้วยแม่กา ห้วยแม่ปาน

นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดินเป็นแหล่งน้ำพุร้อน บริเวณกว้างถึง 2,400 ตารางเมตร มีน้ำพุร้อนผุดจากบ่อเล็กถึง 9 บ่อ เต็มไปด้วยโขดหินน้อยใหญ่ มีอัตราการไหลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ซึ่งมีอัตราการไหลประมาณ 15 ลิตร/วินาที อุณหภูมิระหว่าง 39-47 องศาเซลเซียส ฤดูที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวและมีอากาศเย็นสบาย คือช่วงเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์

เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมสูง และเป็นแหล่งที่ดำเนินงานตามแนวพระราชดำรัสในการใช้พลังงานน้ำธรรมชาติมาประยุกต์อย่างสอดคล้องเป็นประโยชน์ และเพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์และการ รักษาสภาพแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Tourism Awards) ปี 2543 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติยอดเยี่ยมในด้านการออกแบบสิ่งอำนวยความ สะดวกในอุทยานฯ ได้อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ สภาพแวดล้อมภายในอุทยานฯ ยังตกแต่งได้อย่างสวยงามไม่แพ้รีสอร์ทเอกชน เหมาะสำหรับผู้ที่จะไปเที่ยวแบบครอบครัว สามารถเที่ยวได้ตลอดปี ฤดูหนาวจะมีนักท่องเที่ยวมากที่สุด

การเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดลำปางประมาณ 75 กิโลเมตร สามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติได้ดังนี้

จากตัวเมืองลำปาง ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1035 (ลำปาง-วังเหนือ) จนถึงปากทางเข้าอำเภอแจ้ห่มไปประมาณ 3 กิโลเมตร จนถึง กม.ที่ 58 เลี้ยวซ้ายมาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1287 ซึ่งผ่านอำเภอเมืองปาน และเลี้ยวไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1252 (ข่วงกอม-ปางแฟน) เป็นระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานแห่งชาติตามทาง รพช.อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

จากตัวเมืองลำปางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ลำปาง-ห้างฉัตร) เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1157 (ลำปาง-ห้วยเป้ง-เมืองปาน) ระยะทาง 55 กม. เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1287 (เมืองปาน-แจ้ห่ม) ประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1252 อีกประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานแห่งชาติตามทาง รพช.อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

กิจกรรมที่น่าสนใจในอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

เที่ยวชมน้ำพุร้อน

เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

แค้มป์ปิ้ง

ช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

ฤดูที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวและมีอากาศเย็นสบาย คือช่วงเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์

ค่าใช้จ่ายสำหรับการมาเที่ยวอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

ค่าเข้าชมอุทยานฯ คนไทย ผ้ใหญ่ คนละ 40 บาท เด็ก คนละ 20 บาท ขาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 200 บาท เด็ก คนละ 100 บาท

คำแนะนำในการท่องเที่ยว

บ้านพักในอุทยานมีจำนวน 11 หลัง พักได้หลังละ 3-15 คน ราคา 900-3,600 บาท

ค่ายพักแรม พักได้ 40 คน ราคา 4,000 บาท

อุทยานฯ มีเต็นท์ให้นักท่องเที่ยวเช่า พักได้ 2-5 คน ราคา 150-225 บาท

นักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเองเสียค่าสถานที่กางเต็นท์ คนละ 30 บาท/คืน

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ต.แจ้ซ้อน อ. เมืองปาน จ. ลำปาง 52240

โทรศัพท์ 0 5438 0000, 08 9851 3355 โทรสาร 0 5438 0457 (VoIP) อีเมล chaeson2007@hotmail.com

สินค้ารวม