Custom Search

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต/เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน











ข้อมูลทั่วไป จังหวัด ฉะเชิงเทรา


คำขวัญ ประจำจังหวัด
แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย อ่างฤาไนป่าสมบูรณ์

ฉะเชิงเทรา หรือแปดริ้ว เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางซึ่งมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่
ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงและตามลำคลองต่างๆ โดยมี “หลวงพ่อโสธร” เป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวแปดริ้ว ในอดีตฉะเชิงเทรามีฐานะเป็นเมืองจัตวาอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ต่อมาเปลี่ยนมาขึ้นอยู่ในสังกัดกรมมหาดไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เรื่อยมา จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแผ่นดินใหม่ เมืองฉะเชิงเทราจึงมีฐานะเป็นเมืองๆ หนึ่งในมณฑลปราจีนบุรี

และในปี พ.ศ. 2459 จึงได้เปลี่ยนจากเมืองเป็นจังหวัด เรียกว่า “จังหวัดฉะเชิงเทรา” คำว่า “ฉะเชิงเทรา” เป็นภาษาเขมร แปลว่า คลองลึก ส่วนชื่อ “แปดริ้ว” นั้น ได้มาจากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า ในเมืองนี้มีปลาช่อนขนาดใหญ่ชุกชุม เมื่อนำมาตากทำเป็นปลาแห้งจะต้องแล่เนื้อปลาถึง 8 ริ้ว

ฉะเชิงเทรา อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 82 กิโลเมตร มีพื้นที่ 5,351 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบางคล้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแปลงยาว อำเภอราชสาส์น อำเภอท่าตะเกียบ และกิ่งอำเภอคลองเขื่อน

ข้อมูลการเดินทาง

รถ ยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง คือ 1. จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 304 ( กรุงเทพฯ - มีนบุรี – ฉะเชิงเทรา ) ระยะทาง 75 กิโลเมตร 2. จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 34 ( ถนนสายบางนา – ตราด ) จากนั้นเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 314 ( บางปะกง – ฉะเชิงเทรา ) ระยะทาง 90 กิโลเมตร 3. จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 3 ( ผ่านสมุทรปราการ - บางปะกง ) จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 314 ระยะทาง 100 กิโลเมตร

รถไฟ มีบริการรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพง ไปฉะเชิงเทราทุกวัน วันละ 11 ขบวน เที่ยวแรก 05.55 น. – เที่ยวสุดท้าย 18.25 น. ค่าโดยสาร 13 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2220 4444 หรือ สถานีรถไฟฉะเชิงเทรา โทร. 0 3851 1007 หรือเว็บไซท์ www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศออกจากจากสถานีขนส่งสายเหนือ (ถนนกำแพงเพชร 2) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที (ใช้เส้นทางมอร์เตอร์เวย์) ตั้งแต่เวลา 05.20- 18.00 น. รถออกทุกครึ่งชั่วโมงวันธรรมดามีรถออกตั้งแต่เวลา 06.00-17.30 น. เสาร์-อาทิตย์ 06.00-18.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถานีขนส่งสายเหนือ(ถนนกำแพงเพชร 2)โทร. 0 2936 2852–66 ต่อ 311, 442 นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางจากสถานีขนส่งสายตะวันออก(เอกมัย) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ บริษัท ฉะเชิงเทรา ขนส่ง จำกัด โทร. 0 2712 1018, 0 9749 1336 มีรถออกตั้งแต่เวลา 05.00-21.30 น. หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถานีขนส่งสายตะวันออก(เอกมัย)โทร. 0 2391 2504 หรือ สถานีขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 0 3851 4482

สถานที่ท่องเที่ยว
วัดพยัคฆอินทาราม (วัดเจดีย์) อำเภอ จ.ฉะเชิงเทรา
ตั้งอยู่ตำบลบ้านใหม่ จากหลักฐานจารึกแผ่นเงินที่พบบริเวณรอยแตกตรงคอระฆังของเจดีย์องค์ใหญ่ภายในวัดทำ
ให้ทราบว่าวัดนี้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนายเสือ หรือ พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจ ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่ เดิมเป็นวัดจีนแต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนในลัทธิมหายานภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า

วัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า “วัดหงส์” สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพุทธโสธร”

ล่องเรือชมปลาโลมา อำเภอบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
ปลาโลมาจากอ่าวไทยจะตามแหล่งอาหารเข้ามาหากิน เนื่องจากในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคมของทุกปี บริเวณนี้จะมีปลาดุกทะเลซึ่งเป็นอาหารโปรดของปลาโลมาเป็นจำนวนมาก

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อำเภอบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ได้รับชัยชนะใน การสู้รบกับพม่าบริเวณปากน้ำโจ้โล้ ทรงใช้เมืองฉะเชิงเทราเป็นเส้นทางเดินทัพผ่านในการกอบกู้เอกราช หลังเหตุการณ์เสียกรุง

สวนมะม่วง อำเภอบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
ฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่มีการปลูกมะม่วงมากที่สุดของประเทศ มีพื้นที่ประมาณ 86,000 ไร่
อำเภอที่ปลูกมากที่สุด คือ อำเภอบางคล้า

การท่องเที่ยวทางเรือตามลำน้ำบางปะกง อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
ชมธรรมชาติและประวัติศาสตร์แห่งลุ่มน้ำบางปะกง ลำน้ำบางปะกงมีต้นกำเนิดจากทิวเขาสันกำแพงบนที่ราบสูงโคราช
ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี (เรียกว่าแม่น้ำปราจีนบุรี)

ป้อมเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
อยู่ที่ถนนมรุพงษ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2337 โดยมีกรมหลวงรณเรศเป็นแม่กองก่อสร้าง
เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูมารุกราน

อนุสาวรีย์พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
ตั้งอยู่ถนนศรีโสธร ตรงข้ามค่ายทหารศรีโสธร พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
เป็นชาวแปดริ้ว เป็นนักปราชญ์ภาษาไทยคู่พระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ท่านแต่งแบบเรียนภาษาไทยหลายชุด นับเป็นแบบเรียนภาษาไทยที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับเยาวชนไทยในยุค

ศาลหลักเมือง อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นศาลที่สร้างขึ้นใหม่ตั้งอยู่ถนนหน้าเมือง เป็นอาคารสถาปัตยกรรมไทยหลังคาทรงจตุรมุข ส่วนบนเป็นยอดปรางค์ ภายในศาลมีเสาหลักเมือง 2 เสา เสาหนึ่งเป็นเสาหลักเมืองเก่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2377 อีกเสาหนึ่งเป็นเสาหลักเมืองปัจจุบันสร้างเมื่อ พ.ศ. 2438 นอกจากนั้นยังมีศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอยู่ในบริเวณเดียวกัน เปิดให้เข้าชมเวลา 07.00 – 16.00 น.

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฉะเชิงเทรา อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัด บนเนื้อที่ประมาณ 90 ไร่ เป็นสวนสาธารณะที่มีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่กลางสวน มีทางเดินโดยรอบสระและต้นไม้ขึ้นร่มรื่น เหมาะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

อนุสรณ์สถานพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อำเภอบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
ตั้งอยู่บริเวณปากน้ำโจ้โล้ (คลองท่าลาด) ตำบลปากน้ำ หลังจากที่พระเจ้าตากสินตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน อำเภอท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ 643,750 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลางของพื้นที่ป่าผืนใหญ่รอยต่อ 5 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และปราจีนบุรี

ตลาดบ้านใหม่ ตลาดริมน้ำร้อยปี อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นตลาดโบราณริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงอายุกว่า 100 ปี จำหน่ายทั้งอาหาร ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว กาแฟโบราณ เครื่องดื่มโบราณ สมุนไพร ขนมทั้งไทย จีน ของเล่นโบราณ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
ตั้งอยู่ตำบลเขาหินซ้อน ริมทางหลวงหมายเลข 304 กิโลเมตรที่ 51-52 อยู่ห่างจากอำเภอพนมสารคาม 17 กิโลเมตร มีเนื้อที่กว้างใหญ่ประมาณ 1,895 ไร่ ศูนย์แห่งนี้ได้รับสถาปนาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

วัดโพธิ์บางคล้า อำเภอบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
อยู่ห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา 23 กิโลเมตร จะเห็นค้างคาวแม่ไก่เกาะอยู่ตามต้นไม้ ค้างคาวแม่ไก่เป็นค้างคาวที่มีปีกสีดำ หน้าตาเหมือนสุนัขจิ้งจอก

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่) อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กิโลเมตร เป็นวัดจีนในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่ขยายมาจากวัดเล่งเน่ยยี่ในกรุงเทพฯ

ตลาดคลองสวน 100 ปี อำเภอบ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่

อ่างเก็บน้ำคลองสียัด อำเภอท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นเขื่อนดินเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร ภูมิทัศน์ โดยรอบมีความสวยงาม

สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ากระบกคู่ อำเภอท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นสถานที่วิจัยเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่หายากใกล้จะสูญพันธุ์

ศูนย์ศึกษาพัฒนาการสังคมหมู่บ้าน (วนเกษตร) หรือ บ้านศานติธรรม อำเภอสนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
ภายในอาณาบริเวณเกือบ 10 ไร่ มีพันธุ์ไม้กว่า 700–800 ชนิด เป็นสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ

วัดพระธาตุวาโย (วัดห้วยน้ำทรัพย์) อำเภอสนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
ภายในวัดมีเจดีย์ทรงระฆัง ประดับด้วยกระจกสีเหลือง น้ำเงิน ขาว งดงามแปลกตา

เขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นภูเขาที่มีความสูงไม่มากนัก ประกอบด้วยก้อนหินขนาดใหญ่น้อยรูปทรงต่างๆ เรียงรายอยู่ตามธรรมชาติ

พิพิธภัณฑ์ล้อต๊อก อำเภอกิ่งคลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

ล่องเรือรอบเกาะลัด อำเภอบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
ชมวิถีชีวิตริมน้ำ บ้านเรือนที่ปลูกสร้างอย่างสวยงามบนเกาะลั

หมู่บ้านน้ำตาลสด อำเภอบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นแหล่งผลิตน้ำตาลสดพร้อมดื่มแห่งเดียวในภาคตะวันออก

วัดแจ้ง อำเภอบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
มีพระอุโบสถที่งดงาม เป็นศิลปแบบไทยผสมจีน

วัดพยัคฆอินทราราม (วัดเจดีย์) อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วัดสัมปทวน อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นวัดเก่าแก่ มีตำนานเกี่ยวกับหลวงพ่อพุทธโสธร

วัดเมือง (วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์) อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2377

เจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำ(มูลนิธิสว่างศรัทธาธรรม) อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นรูปยืนองค์ลอย สูงประมาณ 1 เมตรเศษ หนัก 40 กิโลกรัม

เขื่อนทดน้ำบางปะกง อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางปะกง เป็นเขื่อนป้องกันน้ำเค็ม

ประวัติความเป็นมาของเรือ/เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน












ประวัติความเป็นมาของเรือ

เมื่อครั้งเกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ในอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพรในปี พ.ศ.2532 กองทัพเรือ ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการหลักในการค้นหา และช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ได้ใช้เรือและอากาศยาน ในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ ประสบภัย ซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฐานขุดเจาะก๊าซธรรมชาติกลางอ่าวไทยและชาวประมง แต่มีขีดจำกัดในการปฏิบัติการ อันเนื่องจากเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่กองทัพเรือมีอยู่ขณะนั้น ไม่สามารถทนสภาพทะเลเมื่อครั้งพายุไต้ฝุ่นเกย์ได้ ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยกระทำได้ด้วยความยากลำบากและไม่ได้ผลตามที่กองทัพเรือต้องการ ประกอบกับภารกิจของกองทัพเรือในการปกป้องอธิปไตยและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งในปัจจุบันเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย ได้ขยายออกไปถึง 200 ไมล์ทะเล การมีเรือขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ทันสมัยจะสามารถใช้ในการค้นหา และให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์ ตลอดจนการมีเฮลิคอปเตอร์ประจำการบนเรือจะช่วยขยายพื้นที่ในการลาดตระเวน และระยะเวลาในการปฏิบัติการในทะเลได้เป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น กองทัพเรือจึงได้มีแนวความคิด ในการสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจตามความมุ่งหมาย และได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ ในการจัดหาเรือและการปฏิบัติภารกิจของเรือ จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 17 มีนาคม 2535 อนุมัติให้กองทัพเรือว่าจ้างสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล จำนวน 1 ลำ จากบริษัทบาซาน ประเทศสเปน ในวงเงินประมาณ 7,100 ล้านบาท และกองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างสร้างเรือเมื่อ 27 มีนาคม 2535

กองทัพเรือได้ขอพระราชทาน ชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทัพเรือ และเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ รวมทั้งเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์แห่งราชวงศ์จักรี ที่ได้ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม ทำให้ประเทศมีความเป็นปึกแผ่น และเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานา อารยประเทศโดยทรงเป็นศูนย์รวมน้ำใจคนไทยให้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ต่อเนื่องกันมากว่า 200 ปี ซึ่งกองทัพเรือได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือหลวงลำนี้ว่า เรือหลวงจักรีนฤเบศร อันหมายถึง ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี


สินค้ารวม