Custom Search

วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประเพณีผ้าป่าแถว กำแพงเพชร/เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน



































ประเพณีผ้าป่าแถว / กำแพงเพชร

ประวัติ / ความเป็นมา

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวร สังฆาฏิตามต้องการ

ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง

เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์ แต่จะนำผ้าไปถวายโดยตรงไม่ได้เพราะยังมิได้มีพุทธานุญาต ผู้มีศรัทธาจึงนำผ้าไปทิ้งไว้ในป่าช้า และตามที่ต่างๆ ที่ไม่ไกลจากกุฏิพระภิกษุ เพื่อให้พระภิกษุไปพบเล้วนำเอาไปทำจีวรได้ตามประสงค์

อนึ่ง ก่อนจะเกิดการ "ทิ้งผ้าตามป่า" มีตำนานพุทธศาสนาในพระธรรมบทขุททกนิกายสคถาวรรค เรื่อง นาคเพทธิดาถวายผ้าป่าแก่พระอนุรุทธเถระว่า คราวหนึ่งพระอนุรุทธเถระผู้เป็นอรหันต์เที่ยวหาบังสุกุลจีวรตามแนวป่า เดินเข้าไปในป่าด้วยใจหวังว่าจะได้พบผ้าสักผืนหนึ่ง ขณะที่พระอนุรุทธรำพึงเช่นนั้น เทพธิดานางหนึ่งซึ่งชาติก่อนเคยเป็นภรรยาของพระอนุรุทธมีศรัทธาปรารถนาจะถวายผ้าบังสุกุลแก่ท่าน จึงนำผ้าทิพย์ลงมาพาดไว้ที่ต้นไม้เตี้ยๆ ต้นหนึ่ง ระหว่างทางที่พระเถระจะเดินผ่าน เมื่อพบเหตุเช่นนั้น พระอนุรุทธแสดงความประหลาดใจ และเมื่อปรารภความถึงเจ้าของไม่มีแล้ว ท่านจึงอธิษฐานเป็นผ้าบังสุกุล

การทอดผ้าป่า รวมทั้งการประดับประดาองค์ผ้าป่าด้วยกิ่งไม้ เอาผ้าทำเป็นรูปลิง ค่าง บ่าง ชะนี หรือผีเปรต ก็เป็นการอุปมาดังกล่าว

กำหนดงาน

ชาวกำแพงเพชรทุกหมู่บ้านและตำบล จะพากันจัดงานบุญ "ทอดผ้าป่าแถว" กัน ทุกวันในช่วงเทศกาลลอยกระทง สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี

เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะจัดหากิ่งไม้ 1 กิ่ง เทียนไขหรือเทียนขี้ผึ้งก็ได้ 1 ดอก และ ผ้า 1 ผืน จะเป็นผ้าสบง หรือจัดให้ครบไตรจีวรเลยก็ได้ หรืออาจจะใช้ผ้าอื่นๆ เช่น ผ้าห่ม หรือ ผ้าเช็ดตัวก็ได้ ของสามอย่างอันได้แก่ กิ่งไม้ เทียน และผ้านี้นับว่าสำคัญที่สุด ขาดมิได้ สำหรับการทอดผ้าป่าแถว

นอกจากของ 3 อย่างแล้ว ก็จะจัดเครื่องไทยทานธรรมตามกำลังศรัทธาและทุนทรัพย์ เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง ผลไม้ บริขารของใช้ต่างๆ ที่จำเป็นแก่พระภิกษุสงฆ์ บรรจุในชะลอม กระชุ กระบุงหรือภาชนะอื่นๆ ที่เห็นสมควร บางรายอาจจะตกแต่งภาชนะบรรจุบริขารต่างๆ เหล่านั้นเป็นรูปวิจิตรบรรจงมากมายหลายแบบ ทำเป็นรูปช้างบ้าง รูปศพผีตายบ้างก็มีบางรายเอาผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าขนหนูผืนเล็กพับเป็นรูปชะนีห้อยไว้ที่กิ่งไม้ด้วย บางรายเอาธนบัตรห้อยประดับเพิ่มเข้าไปอีกก็มี

ส่วนทางวัดก็จะจัดเตรียมสถานที่ จัดทำสลากรายนามพระภิกษุทั้งวัด รวมทั้งจากพระวัดอื่นๆ ที่นิมนต์มาร่วมด้วย นอกจากนั้นยังร่วมกับกรรมการวัดและชาวบ้านที่มีฐานะดี จัดหามหรสพต่างๆ เช่นลิเก ภาพยนตร์ ดนตรี ฯลฯ มาเตรียมไว้แสดงในค่ำคืนนั้นด้วย

ครั้นตกกลางคืน เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ชาวบ้านนำองค์ผ้าป่าแถวที่เตรียมไว้มาจัดแจงปักกิ่งไม้ของตนลงในบริเวณลานวัดที่จัดไว้ ให้เป็นแถวเป็นระเบียบเรียบร้อย เสร็จแล้วเอาผ้าพาดไว้บนกิ่งไม้ เอาเครื่องไทยธรรมวางไว้ใต้กิ่งไม้ เมื่อตั้งแถวผ้าป่าเรียบร้อยแล้ว อาจเตรียมตัวไปชมมหรสพต่างๆ เป็นการฆ่าเวลาเสียก่อน

พอถึงเวลาอันสมควร ทายกวัดจะป่าวร้องให้เจ้าของผ้าป่าไปจับสลากรายนามพระภิกษุเมื่อได้รับรายนามพระภิกษุแล้ว เจ้าของผ้าป่าจะเอามากลัดติดไว้กับผ้าที่ห้อยอยู่บนกิ่งไม้ของตนแล้วจุดเทียนปักไว้ใกล้ๆ ผ้าให้พอมองเห็นสลากนามพระภิกษุมาชักผ้าของตน

ถึงตอนนี้ลูกศิษย์พระจะจุดเทียน มาเที่ยวส่องหาชื่อพระอาจารย์ตน เพื่อจะจำไว้ว่าได้ผ้าป่ากี่กอง และอยู่ตรงไหนบ้างเมื่อเวลาชักผ้าจะได้นำอาจารย์ของตนไปถูก ส่วนพระบางรูปที่ไม่มีลูกศิษย์ก็ต้องรอให้ถึงเวลาชักผ้า แล้วเดินมาหาเอาเอง

พิธีชักผ้าป่าก็จะเริ่มเวลาประมาณ 21.00-22.00 น. เมื่อได้เวลาทายกจะเคาะระฆังเป็นสัญญาณนิมนต์พระ มหรสพจะหยุดชั่วคราว ประชาชนที่มาในงานจะอยู่ในความสงบสำรวม พระภิกษุทุกรูปจะครองจีวรมือถือตาลปัตรเดินตามแสงเทียนของลูกศิษย์ ออกไปชักผ้าตามรายนามของท่าน ตามวิธีที่พุทธศาสนาบัญญัติไว้ มองดูเหลืองอร่ามเต็มลานวัดเบื้องล่าง ท่ามกลางแสงเดือนเพ็ญเหลืองลอยทรงกลดอันสวยงามอยู่บนฟ้าเบื้องสูงยิ่งนัก

โดยเฉพาะการทอดผ้าป่าแถวที่วัดบาง และวัดพระบรมธาตุนั้น ทุกปีจะมีกองผ้าป่ามาตั้งมากมายมหาศาลจนลานวัดอันกว้างใหญ่ดูแคบลงทันที พระภิกษุทุกรูปรวมทั้งพระที่ได้รับนิมนต์มาจากวัดใกล้เคียง ต่างได้รับถวายผ้าป่ากันรูปละหลายกอง จนขนเครื่องไทยธรรมกลับวัดแทบไม่ไหว

หลังจากพระภิกษุชักผ้าป่าเรียบรอยแล้ว ลูกศิษย์จะขนเครื่องไทยธรรมกลับกุฏิหรือกลับวัดส่วนพระภิกษุทุกรูปจะไปนั่งรวมกันเป็นระเบียบ ณ ที่ที่ทางวัดจัดไว้ แล้วให้ศีลเจริญพระพุทธมนต์ อวยชัยให้พร อนุโมทนาแก่ผู้บริจาคผ้าป่า เป็นเสร็จพิธีทอดผ้าป่าแถว

สิ้นเสียงพระสงฆ์ มหรสพต่างๆ จะแสดงต่อทันทีถึงตอนนี้ชาวบ้านบางกลุ่มจะเตร็ดเตร่ไปเลือกชมมหรสพที่ตนพอใจ แต่บางกลุ่มก็จะเดินออกจากวัดไปหน้าเมืองสู่ริมแม่น้ำปิง และชักชวนกันลอยกระทงลงบนสายน้ำ โดยคนกำแพงเพชรรุ่นเก่าถือคติในการลอยกระทงว่า เพื่อสักการะบูชาแด่พระมหาเถรอุปคุตเจ้า ซึ่งสถิต ณ ใจกลางทะเลหลวง อันแปลกไปจากคติของท้องถิ่นต่างๆ บ้าง แต่ในปัจจุบันคตินี้คงเลือนไปแล้ว

จะเห็นว่าประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของกำแพงเพชรนั้น แปลกกว่าการทอดผ้าป่าธรรมดา หรือการทอดผ้าป่าในท้องถิ่นอื่นๆ ด้วยเหตุว่า ทำกันมาเป็นประเพณีโดยมีต้องนัดหมาย หากพร้อมใจกันนำมาทอดในวันลอยกระทง มีผลทำให้มีคนมาร่วมงานเป็นอันมาก เพราะได้รับความสนุกสนานบันเทิงไปพร้อมกันด้วย และทำให้วันลอยกระทงในท้องถิ่นนี้มีความหมายยิ่งขึ้น


ตลาดบ้านใหม่ ตลาดริมน้ำร้อยปี/เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน

ตลาดบ้านใหม่ ตลาดริมน้ำร้อยปี

พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ถือว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่ชาวแปดริ้วและชุมชนต่าง ๆได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์บ้านเรือนเก่า ๆ ที่สวยงามและมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งมีวิถีชีวิตชุมชนที่มีมนต์เสน่ห์เฉพาะท้องถิ่น ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนที่ตลาดบ้านใหม่และตลาดคลองสวน และในปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัด ฉะเชิงเทรา จุดเด่นของตัวตลาดบ้านใหม่ที่มีวิถีชีวิตเฉพาะถิ่นส่งผลให้เกิดเส้นทางท่อง เที่ยวเชื่อมโยงเป็นหลายเส้นทาง






บริเวณนี้เป็นชุมชนเก่าแก่ มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ตั้งแต่อดีตที่แห่งนี้มีความคับคั่งด้วยผู้คนที่มาประกอบอาชีพค้าขาย เป็นตลาดบกริมน้ำที่เจริญรุ่งเรืองมากซึ่งจะดูได้จากอาคารบ้านเรือนที่ปลูกสร้างติด ๆ กัน และอยู่ชิดริมน้ำแทบทุกหลัง และเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา ตลาดบ้านใหม่ เป็นตลาดเก่าอายุกว่า 100 ปี จากหลักฐานที่ปรากฏในจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จ.ศ. 1269 (พ.ศ. 2450) ได้เสด็จมาที่ตลาดบ้านใหม่เมื่อวันเสาร์ เดือนยี่แรมแปดค่ำ ทรงทอดพระเนตรตลาดไปจนสุดตลาด

แม้ว่าวันเวลาผ่านพ้นไปนานเป็นร้อยปีแต่ความสำคัญของตลาดริมน้ำแห่งนี้ก็ยังคง ดำรงอยู่จนถึงปัจจุบันด้วยความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาคารห้องแถวที่มีอายุยาวนานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และยังคงสภาพเหมือนเดิมมาจนถึงปัจจุบัน ห้องแถวในตลาดใหม่มากกว่า 60 ห้องยังคงเป็นบ้านไม้แบบโบราณทั้งหมดประตูไม้พับมีช่องทางเดินตรงกลางลักษณะ หน้าบ้านหันหน้าเข้าหากัน ภายในชุมชนตลาดก็ยังมีคนรุ่นคุณปู่คุณย่า อาศัยพำนักอยู่ และยังคงรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้อย่างน่ายกย่องเป็นภาพวิถีชีวิต ที่คอยบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆในอดีต ให้กับผู้มาเยือนได้เห็นเป็นอย่างดี

เมื่อ พ.ศ. 2547 ชุมชนบ้านใหม่พร้อมใจฟื้นฟูตลาดชุมชนอายุกว่า 100 ปี เปิดตลาดบ้านใหม่ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมวิถีชีวิตย้อนยุค ตลาดบ้านใหม่ เป็นแหล่งรวมอาหารอร่อยเมนูแบบโบราณ ให้เลือกชิมอาหารรสอร่อย เลือกซื้อของฝากจากแปดริ้วในช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ อีกทั้งอาคารบ้านเรือนทั่วไปได้รับการปรับปรุงให้อยู่ในสภาพดีขึ้น ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดฉะเชิงเทรา อีกแห่งหนึ่ง

บัตรโดยสารราคาพิเศษ BEST BUY จาก Bangkok Airways

ตลาดบ้านใหม่ ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา เป็นตลาดเก่าอายุกว่า 100 ปี เดิมชื่อตลาดบน แต่เกิดเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ จึงก่อสร้างตลาดใหม่ขึ้นมาแทน ชาวบ้านจึงเรียกว่า "ตลาดบ้านใหม่" ภาพจาก ททท.แนะนำเที่ยวทั่วไทย

บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของชุมชนเก่าแก่ มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน เมื่ออดีตสถานที่แห่งนี้มีความคับคั่งด้วยผู้คนที่มาประกอบอาชีพค้าขาย เป็นตลาดบกริมน้ำที่เจริญรุ่งเรืองมาก ภาพจาก ททท.แนะนำเที่ยวทั่วไทย

เอกลักษณ์เฉพาะตัว อายุสถานที่ที่ยาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และยังคงสถาพเหมือนครั้งรุ่นคุณปู่คุณย่าอาศัยพำนักอยู่ ซึ่งคนสมัย ปัจจุบันจะได้ทราบเรื่องราวต่าง ๆ และชมภาพได้จากภาพยนตร์ และละครย้อนยุคของชุมชนชาวไทยจีนที่เข้ามาถ่ายทำที่ ตลาดบ้านใหม่แห่งนี้ เช่น ละครเรื่องอยู่กับก๋ง, เจ้าสัวสยาม ภาพยนตร์เรื่องนางนาค ภาพจาก ททท.แนะนำเที่ยวทั่วไทย

เป็นแหล่งอาหารอร่อย ขนมและของขบเคี้ยวนานาชนิด เป็นที่รวบรวมอาหารรสเด็ดของแปดริ้ว ทั้งอาหารจีน อาหารไทย ที่มีรสชาติตามมาตรฐานอาหารของแต่ละชาติ มีร้านกาแฟโบราณรสชาติเข้มข้นหอมหวาน เป็นที่รวบรวมของฝากที่ต้องแวะซื้อเป็นของฝากก่อนกลับบ้านทุกครั้ง ภาพจาก ททท.แนะนำเที่ยวทั่วไทย

เมื่อปี 2547 ชุมชนบ้านใหม่พร้อมใจฟื้นฟูตลาดชุมชนอายุกว่า 100 ปี เปิดตลาดบ้านใหม่ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดฉะเชิงเทราพร้อมให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมวิถีชีวิตย้อนยุค เลือกชิมอาหารรสอร่อยเลือกซื้อของฝากจากแปดริ้ว ภาพจาก ททท.แนะนำเที่ยวทั่วไทย

ช่วงแรกร้านค้ายังมีจำนวนไม่มากนักจึงเปิดให้เที่ยวชมเฉพาะในช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุด นักขัตฤกษ์ เวลาผ่านพ้นไป 2 ปี ความเงียบเหงาของวันวานถูกปรับเปลี่ยนเริ่มกลับมาคึกคักมากขึ้น ภาพจาก ททท.แนะนำเที่ยวทั่วไทย

ตลาดบ้านใหม่ในทุกวันนี้มีความจอแจของทั้งคนซื้อและคนขาย นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดฉะเชิงเทราในวันธรรมดา สามารถที่จะมาเที่ยวชมตลาดเก่าได้ทุก ๆ วัน ภาพจาก ททท.แนะนำเที่ยวทั่วไทย








การเดินทางไปยังตลาดบ้านใหม่ ตลาดริมน้ำร้อยปี

รถยนต์ จากกรุงเทพ ฯ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง

ใช้ถนนหมายเลข 304 มีนบุรี ฉะเชิงเทรา

ใช้ถนนหมายเลข 34 บางนา ตราด เลี้ยวเข้าถนนหมายเลข 314 บางปะกง ฉะเชิงเทรา

ใช้ถนนหมายเลข 3 สมุทรปราการ บางปะกง แล้วต่อด้วยถนนหมายเลข 314 บางปะกง ฉะเชิงเทรา,

ใช้ถนนมอเตอร์เวย์ กรุงเทพ ฯ พัทยา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนหมายเลข 314 บางปะกง ฉะเชิงเทรา มุ่งหน้าเข้าตัวเมืองฉะเชิงเทรา

รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพ ฯ มีรถประจำทางออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (ถนนกำแพงเพชร 2) และสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย)

รถไฟ (หัวลำโพง) มีขบวนรถไฟมาฉะเชิงเทราทุกวัน นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาโดยรถสาธารณะ จะมีรถโดยสารเล็กจากสถานี สายรอบเมืองวิ่งผ่านวัดโสธร วรารามวรวิหาร

กิจกรรมที่น่าสนใจในตลาดบ้านใหม่ ตลาดริมน้ำร้อยปี

เที่ยวชมตลาดริมน้ำเก่าแก่ที่ดำเนินการต่อเนื่องกันมาเป็นร้อยปี

ชิมอาหาร-ขนม สูตรโบราณรสชาติดั้งเดิม

ซื้อสินค้าของฝากจากตลาดบ้านใหม่

สิ่งน่าสนใจอื่นๆในตลาดบ้านใหม่ ตลาดริมน้ำร้อยปี

ร้านขนมกะลอจี๊ ขนมกง เป็นขนมที่ขายกันในโรงงิ้วเมื่อสมัยก่อน

ขนมถุงทอง ,ขนมกวยสามรส ,ก๋วยเตี๋ยวหลอดตำรับจีนโบราณ

ไข่ระเบิด คือ เอาไข่สามอย่างคือไข่ต้ม ไข่เค็ม ไข่เยี่ยวม้ามาหุ้มด้วยแป้งทอดมันแล้วนำไปทอดสีสันสวยงามรสชาติเยี่ยม

กวยจั๊บน้ำใสน้ำข้น,ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ 14 ไส้ที่ทำให้กินกันแบบร้อน ๆ จากเตาสั่งได้ตามใจชอบ

ผัดไทยโบราณที่ใช้เส้นเล็กผัดรวมกับเครื่องต่าง ๆมากมายรสชาติเข้มข้น,

ข้าวห่อใบบัว มีให้เลือกมากมายหลายหน้าเช่นหน้าหมูแดงไก่ กระเทียม,หน้ากระดูกอ่อน,หน้ากุ้งน้ำแดง,หน้าซีฟู้ด,หน้ารวม,หน้าหมึกผัดไข่ เค็ม

ห่อหมกปลากรายใบจากโดยใช้ใบจากมาเป็นหีบห่อน่ารักและรสชาติดีเลิศหอมใบจาก

ร้านกาแฟโบราณรสชาติเข้มข้นหอมหวาน

น้ำดื่มเพื่อสุขภาพเช่น น้ำรากบัว น้ำจับเลี้ยง น้ำหล่อฮั้งก๊วย

ช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการมาท่องเที่ยวตลาดบ้านใหม่ ตลาดริมน้ำร้อยปี

ตลอดทั้งปี






คำแนะนำในการท่องเที่ยว

ชุมชนตลาดบ้านใหม่ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เปิด ให้บริการแบบเต็มรูปแบบ ในวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุด นักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เช้าจนเย็น ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 038-515186, 089-2513923

ตลาดบ้านใหม่นอกจากเป็นตลาดเก่าโบราณร้อยปีเป็นแหล่งอาหารอร่อยของเมือง แปดริ้ว แล้วยังตั้งอยู่ในตัวเมืองฉะเชิงเทราใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง เราสามารถเดินทางไปเที่ยวต่อได้ เช่น วัดโสธรวราราม,ปติมากรรมทายระดับโลก, กิจกรรมล่องเรือชมแม่น้ำบางปะกง, วัดจีนประชาสโมสร ,ตลาดร้อยปีคลองสวน

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

สำนักงาน ททท.ภาคกลางเขต 8 โทร.0 3731 2282, 0 3731 2284 www.tat8.com

ชมรมรักษ์ตลาดบ้านใหม่ โทร. 0 3881 7336, 08 6148 4513, 08 9881 7161, 08 9666 4266



วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สะพานข้ามแม่น้ำแคว กาญจนบุรี/เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน














































สะพานข้ามแม่น้ำแคว กาญจนบุรี

กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางที่มีผู้คนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว เต็มไปด้วยเรื่องราวในอดีตที่น่าสนใจ เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ตั้งของสะพานข้ามแม่น้ำแควซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็น ป่าเขาลำเนาไพร ถ้ำหรือน้ำตก

กาญจนบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 129 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่ามีทั้งป่าโปร่งและป่าดงดิบ มีแม่น้ำสำคัญสองสายคือ แม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อยซึ่งไหลมาบรรจบรวมกันเป็นแม่น้ำแม่กลองที่บริเวณอำเภอเมืองกาญจนบุรี กาญจนบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบ่อพลอย อำเภอเลาขวัญ อำเภอพนมทวน อำเภอไทรโยค อำเภอสังขละบุรี อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง อำเภอทองผาภูมิ อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอหนองปรือ และอำเภอห้วยกระเจา

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตากและสหภาพเมียนม่าร์

ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดราชบุรีและจังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี

ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพเมียนม่าร์

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี โทร. 0 3451 1778, 0 3151 2399

ประชาสัมพันธ์จังหวัดกาญจนบุรี โทร. 0 3451 2410, 0 3451 4756

สำนักงานเทศบาลเมืองกาญจนบุรี โทร. 0 3451 1502-2

ที่ว่าการอำเภอเมืองกาญจนบุรี โทร. 0 3451 1040, 0 3462 2952

สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกาญจนบุรี โทร. 0 3462 1040-2

โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา โทร. 0 3462 2999, 0 3451 1233

บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 3451 1387

สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี โทร. 0 3451 1182

สถานีรถไฟกาญจนบุรี โทร. 0 3451 1285

ตำรวจทางหลวง โทร. 1193

ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155


วัดถ้ำเสือ กระบี่/เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน



















วัดถ้ำเสือ กระบี่

วัดถ้ำเสือ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกระบี่ ประมาณ 9 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ บ้านถ้ำเสือ ตำบลกระบี่น้อย อ.เมือง จ.กระบี่ พื้นที่บริเวณวัดประมาณ 200 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ราบ หุบเขาและยอดเขา ชื่อวัดนั้นมีข้อสันนิษ ฐานว่าในอดีตเคยมีเสืออาศัยอยู่ และภายในถ้ำยังปรากฏหินธรรมชาติ เป็นรูปแบบของอุ้งเท้าเสือ ส่วนที่มาของ วัดนี้น่าจะมาจากกระธุดงค์ ที่เดินจาริกไปเพื่อหาสถานที่วิเวก ในการปฏิบัติธรรม มาอาศัยอยู่ตามถ้ำ และมีชาวบ้าน ที่ศรัทธาตามมากราบ ไหว้เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นวัดในเวลาต่อมา

สภาพโดยทั่วไป

เป็นสวนป่า เป็นโพรงถ้ำ มีเพิ่งผาและแหล่งถ้ำธรรมชาติ เช่น ถ้ำคนธรรพ์ ถ้ำลอด ถ้ำช้างแก้ว ถ้ำลูกธนู ถ้ำพระ เป็นต้น ถ้ำบางแห่งที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณวัดยังสามารถใช้เป็นศูนย์กลางการนั่งสมาธิของพระภิกษุ และเหล่าอุบาสก อุบาสิกาได้อีกด้วย ภายในบริเวณวัดมีทัศนียภาพที่ร่มรื่น แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ อายุนับพันปี นอกจากนี้ยัง เป็นแหล่งโบราณคดี ที่สำคัญถึงสองสมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยเริ่มประวัติศาสตร์ มีการขุดพบ วัตถุโบราณหลายอย่าง เช่น เครื่องมือหิน เศษภาชนะดินเผา พระพิมพ์ดิบ บริเวณพื้นที่ราบด้าน หน้าเป็นที่ตั้งของ อุโบสถ พระธาตุเจดีย์ระฆังใหญ่ หอประชุม รูปปั้นพระโพธิสัตว์กวนอิม และสิ่งสำคัญอื่นๆ อีกมากมาย

จุดเด่นของวัด

พระธาตุเจดีย์ยอดแก้ว ตั้งอยู่บนเขาแก้ว มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร สามารถขึ้นไปสักการะ ได้โดยขึ้นบันได 1,200 ขั้น บนยอดเขาสามารถมองเห็นทิวทัศนฺ์ของเมืองกระบี่รอบทิศทางได้อย่างชัดเจน และยัง เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทจำลองอีกด้วย

พระธาตุเจดีย์ระฆังใหญ่ มีความสูง 90 เมตร (กำลังอยู่ในช่วงดำนเนินการก่อสร้าง)

หุบเขาคีรีวงศ์ ภายในหุบเขาแวดล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่อายุนับร้อยปี และเนื่องจากมีภูเขาล้อมรอบอยู่ทุกด้าน จึงมีถ้ำเล็ก ถ้ำน้อย อยู่มากมาย เช่น ถ้ำคนธรรพ์ ถ้ำลอด ถ้ำช้างแก้ว ถ้ำลูกธนู ถ้ำพระ เป็นต้น สามารถเดินทาง เข้าไปชมได้โดยการขึ้นและลงบันได บริเวณข้างๆ พระตำหนักเจ้าแม่กวนอิม

พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ คือการได้แวะมาสักการะบูชา ขอพร

พระพุทธรูปหยกขาว ศิลปะพม่าอายุนับร้อยปี

ฝูงลิงป่า เนื่องจากวัดถ้ำเสือมีลักษณะเป็นสวนป่า แวดล้อมด้วยแมกไม้ ถ้ำและต้นไม้น้อยใหญ่อายุนับร้อยปี จึงเป็น ที่อยู่อาศัยของลิงป่าน้อยใหญ่จำนวนมาก ถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัดถ้ำเสือ

ข้อควรปฏิบัติในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

1. ไม่ทิ้งเศษขยะลงบนบันไดทางขึ้นเขา และบนยอดเขา

2. ไม่ขีดเขียนสัญลักษณ์ต่างๆ ลงบนทางเดิน และผนังต่างๆ บริเวณวัด

3. ไม่ทำร้ายลิง หรือสัตว์บริเวณวัด

กิจกรรมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

- เดินขึ้นพระธาตุเจดีย์ยอดเขาแก้ว

- ถ่ายรูป

- ศึกษาประวัติศาสตร์


อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า จังหวัดพัทลุง





อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า จังหวัดพัทลุง

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ตั้งชื่อตามภูเขาที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นที่รู้จักของผู้คนในจังหวัดพัทลุง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาปู่ซึ่งถือว่าเป็นภูเขาอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณ ตาปู่เป็นเทพกึ่งธรรพ์ ซึ่งเป็นที่นับถือเคารพกราบไหว้ของชาวตำบลเขาปู่และประชาชนทั่วไป อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่ามีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอทุ่งสง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอรัษฎา อำเภอห้วยยอด อำเภอเมือง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง และกิ่งอำเภอศรีนครินทร์ อำเภอศรีบรรพต อำเภอป่าพะยอม อำเภอกงหลา จังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่ในบริเวณเทือกเขาบรรทัด สลับซับซ้อนปกคลุมด้วยป่าดงดิบชื้นเขียวสะพรั่งทุกฤดูกาล จนได้รับสมญานามว่าป่าพรหมจรรย์ในตอนกลางของพื้นที่เป็นที่ราบ ซึ่งมีบ้านพักแบบทาร์ซานสร้างเรียงรายอยู่ตามริมห้วยธาร นับเป็นเอกลักษณ์ของอุทยานแห่งชาติเขาปู่ - เขาย่า รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 433,750 ไร่ หรือ 694 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา

เมื่อครั้งที่นายผ่อง เล่งอี้ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้เสนอว่า จังหวัดพัทลุงมีเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีของนักท่องเที่ยว เป็นอุทยานนกน้ำที่มีนกชนิดต่างๆ ที่สวยงามและหายากมากกว่า 126 ชนิด อาศัยอยู่ไม่ต่ำกว่า 10,000 ตัว นอกจากนี้มีพื้นที่ป่าบริเวณเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นป่าผืนสุดท้ายของจังหวัดพัทลุงและมีธรรมชาติหลายแห่งที่สวยงาม เช่น น้ำตกหนานปลิว น้ำตกพระยานคร น้ำตกเขาคราม ถ้ำมัจฉาปลาวน เป็นต้น เหมาะที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ทั้งได้รับความร่วมมือและสนับสนุนอย่างดียิ่งจาก ร้อยตรีกิตติ ประทุมแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ตลอดจนครู อาจารย์ และประชาชนชาวพัทลุง

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการสำรวจและได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 ให้กำหนดบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเทือกเขาบรรทัดในท้องที่ตำบลน้ำตก อำเภอทุ่งสง ตำบลวังอ่าว อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ตำบลหนองบัว ตำบลหนองปรือ ตำบลท่างิ้ว ตำบลเขาปูน ตำบลห้วยยอด ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด ตำบลน้ำผุด ตำบลช่อง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง และตำบลตะแพน ตำบลเขาปู่ กิ่งอำเภอศรีบรรพต อำเภอควนขนุน ตำบลบ้านนา อำเภอเมืองพัทลุง ตำบลกงหลา ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 72 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2527 เป็นอุทยานแห่งที่ 42 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาบรรทัด มีภูเขาสูงสลับซับซ้อนมากมายที่วางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ประกอบด้วยภูเขาบรรทัด ภูเขานครศรีธรรมราช เขาปู่-เขาย่า เขาป้าแหร้ เขาสามร้อยยอด เขาวัดถ้ำ เขาพระยากรุงจีน เขาป่าโฮ้ง มีเขาหินแท่นเป็นยอดเขาสูงสุด มีความสูงประมาณ 877 เมตรจากระดับน้ำทะเล พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาปู-เขาย่า เป็นต้นแม่น้ำตรังและแม่น้ำปากพนัง โดยในฝั่งจังหวัดพัทลุงเป็นแหล่งกำเนิดคลองลาไม คลองไม้เสียบ คลองน้ำใส ซึ่งจะไหลรวมเป็นคลองชะอวดและแม่น้ำปากพนัง ส่วนในฝั่งจังหวัดตรังเป็นต้นกำเนิดของคลองลำภูรา คลองละมอ ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำตรัง

ลักษณะภูมิอากาศ
โดยทั่วไปภาคใต้มีเพียงฤดูฝนและฤดูร้อน อากาศในเขตอุทยานแห่งชาติจึงค่อนข้างเย็น เนื่องจากปกคลุมด้วยป่าดงดิบชื้น ฤดูฝนอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ฝนตกชุกมากในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝนอยู่ระหว่าง 2,000-2,500 มิลลิเมตร/ปี อุณหภูมิระหว่าง 20-35 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวเพราะเป็นฤดูผลไม้ เช่น มังคุด ลางสาด เงาะ ทุเรียน และสะตอ เป็นต้น

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพสังคมพืชในอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นสังคมพืชป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ ตะเคียนทอง หลุมพอ ยาง กระบาก จำปาป่า พิกุล ไข่เขียว นาคบุตร พญาไม้ หลาวชะโอน หมากพน ฉก ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ ช้างร้องไห้ หวาย กล้วยไม้ป่า สมุนไพร และว่านชนิดต่างๆ

เนื่องจากอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า มีอาณาเขตติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด จึงมีสัตว์ป่าอพยพไปมาอยู่เสมอ จากการสำรวจชนิดของสัตว์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติ พบสัตว์ประเภทต่างๆ ประกอบด้วย

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประมาณ 60 ชนิด เช่น เลียงผา สมเสร็จ หมีคน เสือปลา เก้ง กระจงควาย ค่างแว่นถิ่นใต้ ชะมดแปลงลายแถบ หมาไม้ หนูผีจิ๋ว อีเห็นลายพาด พญากระรอกเหลือง พญากระรอกดำ ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน ค้างคาวปีกถุงเคราดำ ฯลฯ นก พบประมาณ 286 ชนิด อาทิเช่น นกยางไฟหัวสีเทา นกคัดคูสีทองแดง นกบั้งรอกปากแดง นกกะเต็นแดง นกเงือกหัวหงอน นกจอกป่าหัวโต นกพญาปากกว้างเล็กนกขมิ้นน้อยสีเขียว นกจาบดินหัวดำ นกกระจิบกระหม่อมแดง นกจับแมลงสีส้ม นกกินปลีกล้วยปากยาว นกกาฝากสีเลือดหมู ฯลฯ

สัตว์เลื้อยคลาน พบประมาณ 67 ชนิด เช่น เต่าจักร ตะพาบน้ำ เห่าช้าง ตุ๊ดตู่ ตะกวด เหี้ย จิ้งเหลนน้อยหางยาว กิ้งก่าบินหัวสีฟ้า ตุ๊กแกป่าใต้ งูดินมลายู งูเห่าทองพ่นพิษ งูคงคาทอง งูใบ้ ฯลฯ

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สำรวจพบ กบหงอนมลายู กบชะง่อนหินเมืองใต้ กบเขาหลังตอง กบตะนาวศรี กบว้าก อึ่งกรายลายจุด อึ่งกรายหัวแหลม อึ่งกรายมลายู คางคกแคระ กบหนอง เขียด บัว เป็นต้น

ปลา ในบริเวณแหล่งน้ำพบ ประมาณ 15 ชนิด ได้แก่ ปลาตูหนา ปลามัด ปลาหวด ปลาหลด ปลาซิวควาย ปลาซิวใบไผ่ ปลาอีกอง และปลาชะโอนถ้ำ เป็นต้น

แมลง ประมาณ 70 ชนิด อาทิเช่น ผึ้งหลวง ด้วงดีดหนวดไผ่ ด้วงกว่างห้าเขา จักจั่นงวงมวนแดง ผีเสื้อพ่อมด ผีเสื้อหางติ่งอิศวร ผีเสื้อดาราไพรปักษ์ใต้ ผีเสื้อเจ้าป่า ผีเสื้อกระทกรกสีคล้ำ ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า มีการท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะใกล้-ไกล เล่นน้ำตก เที่ยวถ้ำและการพักค้างแรมกลางป่า



ถ้ำรื่นเทพนิมิต ถ้ำวังนายผุด น้ำตกเหรียงทอง ถ้ำมัจฉาปลาวน ผาผึ้ง น้ำตกปากแจ่ม น้ำตกน้ำปลิว น้ำตกธาราวารินทร์ น้ำตกควนประ น้ำตกหนานสวรรค์ น้ำตกหนานปลิว ทางเดินศึกษาธรรมชาติ น้ำตกเขาคราม น้ำตกหนานควายพลัด

ถ้ำรื่นเทพนิมิต
อยู่ที่เขาปู่ ในท้องที่หมู่ที่ 11 ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง เป็นสัญลักษณ์ของตำบลเขาปู่ อยู่ห่างจากสถานีตำรวจภูธร เขาปู่เพียง 1 กิโลเมตร เชื่อกันว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์เป็นที่สถิตของดวงวิญญาณ ตาปู่ซึ่งเป็นเทพกึ่งคนธรรพ์ เป็นที่เคารพกราบไหว้ของชาวเขาปู่และประชาชนทั่วไป

ตามตำนานเล่าว่า เดิมปู่กับย่าเป็นคนธรรมดาได้กระทำแต่ความดี ตั้งมั่นอยู่ในศีลในสัตย์ เมื่อตายไปแล้วกลายเป็นธาตุหิน เกิดเป็นเขาปู่ - เขาย่าเคียงคู่กัน เขาปู่มีลักษณะโค้งเป็นครึ่งวงกลม มองด้านเฉียงคล้ายพญาคชสาร ถ้ำนี้พบโดยนิมิตของครูรื่นซึ่งเจ็บป่วยมาเป็นเวลานานปี คืนหนึ่งนอนฝันว่า มีผู้บำเพ็ญพรตนุ่งขาวมาบอกให้ไปเอายาสมุนไพรที่ถ้ำเขาปู่ในวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงได้รับขนานนามว่า ถ้ำรื่นเทพนิมิตรเป็นถ้ำที่สวยงามประหลาดมาก แบ่งเป็นห้องโถงหลายห้อง คล้ายท้องพระโรง ประดับด้วยหินงอก หินย้อย สีขาวราวเกล็ดมณี ห้องที่สองเป็นที่อยู่ของช้างแก้วมีลักษณะลำตัวเป็นสีเขียวโผล่ออกมาจากผนังถ้ำแค่ครึ่งลำตัว น่าแปลกตรงที่ว่ามีงวงและงา 2 ข้าง ดูคล้ายช้าง

กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ถ้ำวังนายผุด
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 70 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 5 ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นถ้ำที่มีความสวยงามวิจิตรตระการตาด้วยหินงอก หินย้อย ประดับประดา มีความกว้างประมาณ 10 เมตร ความยาว 200 เมตร และมีทางลอดทะลุไปอีกด้านหนึ่งได้ และมีลักษณะพิเศษคือ มีถ้ำขนาดเล็กๆ เป็นหลืบถ้ำอีกเป็นจำนวนมาก เป็นที่อาศัยของค้างคาวจำนวนนับพันๆ ตัว สภาพป่ารอบบริเวณถ้ำก็ยังอุดมสมบูรณ์ ปากทางเข้าถ้ำก็เป็นลานหินกว้างรูปร่างแปลกตา
กิจกรรม -ชมพรรณไม้ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

น้ำตกเหรียงทอง
อยู่ห่างจากชุมชนบ้านเขาปู่ ประมาณ 2 กิโลเมตร ในท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต ชาวบ้านเรียกว่า น้ำตกร้อยชั้น ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบรรทัดและเทือกเขานครศรีธรรมราช อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 240 เมตร ไหลลดหลั่นลงมาจากผาหินเป็นแนวยาว ชั้นที่ 13 สวยงามที่สุด มีจุดพักชมทิวทัศน์มองเห็นทิวทัศน์เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย และเขาปู่ - เขาย่า ซึ่งตั้งอยู่โดดเด่นกลางที่ราบโอบล้อมด้วยเทือกเขา
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก - ชมทิวทัศน์ - ชมพรรณไม้

ถ้ำมัจฉาปลาวน
เป็นถ้ำขนาดกลาง มีห้องโถงใหญ่ถึง 3 ห้อง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย มีแอ่งน้ำกว้างประมาณ 100 ตารางเมตร มีฝูงปลามัดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากปลาถ้ำนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวหลายประเภท อาทิ ค้างคาวหน้ายักษ์ และค้างคาวมงกุฎ เป็นต้น ถ้ำมัจฉาปลาวน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 2 กิโลเมตร

กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ผาผึ้ง
เป็นผาหินปูนสีขาวสูงชัน ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ของทุกปี จะมีฝูงผึ้งหลวงมาทำรังบริเวณหน้าผานับร้อยรัง นอกจากนี้ยังเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สามารถมองเห็นผืนป่าปกคลุมทั่วหุบเขากว้าง ผาผึ้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเพียง 300 เมตร
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

น้ำตกปากแจ่ม
อยู่ในท้องที่หมู่ที่ 3 ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นน้ำตกที่มีความสวยงาม มีน้ำไหลตลอดปี เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัดตรังอีกด้วย

กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำตกน้ำปลิว
อยู่ในท้องที่หมู่ที่ 2 ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก แต่มีน้ำไหลตลอดปี เหนือน้ำจะเป็นพื้นที่กว้างที่มีต้นประขึ้นหนาแน่น ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ดงประช่วงฤดูแล้งใบประจะเปลี่ยนเป็นสีแดงทั้งดง แลดูแปลกตาสวยงามอย่างยิ่ง
กิจกรรม -ชมพรรณไม้ - เที่ยวน้ำตก

น้ำตกธาราวารินทร์
อยู่ในท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำตก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแหล่งน้ำซับขนาดใหญ่ ซึ่งไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆ เลียบลานหินปูน มีความสวยงามมาก

กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำตกควนประ
อยู่ในท้องที่หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นน้ำตกที่มีความสวยงาม เกิดจากเทือกเขาบรรทัด ไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นรวมเป็นลำธารสายใหญ่ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคลองลำภูรา
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก

น้ำตกหนานสวรรค์
อยู่ในท้องที่หมู่ที่ 5 ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นน้ำตกขนาดเล็ก เกิดจากแหล่งน้ำซับบนเทือกเขาบรรทัด ตกลงมาเป็นแอ่งน้ำน้อยใหญ่ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส

กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำตกหนานปลิว
อยู่ในท้องที่หมู่ที่ 9 ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นน้ำตกที่เกิดจากเทือกเขาบรรทัด มีความสูงมาก ตกลงมาจากหน้าผาลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นๆ ไหลลงสู่คลองน้ำใสและลงคลองชะอวด บริเวณน้ำตกเป็นป่าดิบขึ้นอยู่ที่อุดมสมบูรณ์

ทางเดินศึกษาธรรมชาติ
อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีทั้งหมด 2 เส้นทาง แต่ละเส้นทางมีจุดเด่นน่าสนใจ และความยาวแตกต่างกันไป เหมาะสำหรับการเดินศึกษาธรรมชาติ การค้นคว้า และศึกษาด้านพรรณไม้และสัตว์ป่า นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินป่าระยะไกลเส้นทางห้วยยอดสู่เขาหินแท่น ใช้เวลา 2 วัน 1 คืน สนใจติดต่อเจ้าหน้าที่ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขป.6 (บ้านในเตา)
กิจกรรม -แค็มป์ปิ้ง - ชมพรรณไม้ - เดินป่าระยะไกล - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

น้ำตกเขาคราม
อยู่ในบริเวณป่าเขาคราม ตำบลบ้านนา อำเภอเมืองพัทลุง ห่างจากถนนเพชรเกษมประมาณ 7 กิโลเมตร มีน้ำตก 9 ชั้น สูงราว 700 เมตร หน้าผาสวยงาม ผาหินลาดกว้าง ในลำธารมีฝูงปลาโสด ปลาหวด ปลาโทง ปลาแก้มช้ำ มาแหวกว่ายวนเวียนอยู่ ประกอบกับความเย็นฉ่ำจากละอองน้ำตก ทำให้เกิดบรรยากาศน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำตกหนานควายพลัด
อยู่ในท้องที่หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นน้ำตกที่เกิดจากเทือกเขาบรรทัด ไหลลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นๆ รวมเป็นลำธารสายใหญ่ ซึ่งเป็น ต้นน้ำลำธารสายใหญ่ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคลองลำภูรา

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า
60 หมู่ 9 ต.เขาปู่ อ. ศรีบรรพต จ. พัทลุง 93190
โทรศัพท์ 0 7461 9674-5

การเดินทาง
รถยนต์
อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า อยู่ห่างจากตัวจังหวัดพัทลุง 37 กิโลเมตร สามารถเดินทางได้โดยรถโดยสารประจำทาง หรือรถไฟมาลงที่อำเภอเมืองพัทลุง แล้วนั่งรถโดยสารสายพัทลุง-เขาปู่-เขื่อน มาลงที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หรือถ้าเป็นรถยนต์ส่วนตัวก็สามารถมาได้ 2 เส้นทาง ดังนี้
-จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4164 (ควนขนุน-เขาปู่) หรือที่รู้จักในชื่อสี่แยกโพธิ์ทองไปประมาณ 17 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยหนาวจะมีทางแยกซ้ายไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 9 ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
-จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 บริเวณสามแยกควนดินสอ เลี้ยวไปทางเขาปู่ประมาณ 27 กิโลเมตร จะถึงชุมชนเขาปู่ เลี้ยวขวาไปอีก 3 กิโลเมตร จะเห็นป้ายอุทยานแห่งชาติ เลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ



สินค้ารวม