Custom Search

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ท่องเที่ยว วัดโสธรวรารามวรวิหาร/เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน




ท่องเที่ยว วัดโสธรวรารามวรวิหาร

วัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมมีชื่อว่า วัดหงส์ เนื่องจากมีเสาหงส์อยู่ในวัด เสาหงส์มีลักษณะเป็นเสาสูง ปลายเสาเป็นรูปหงส์ตั้งอยู่ เล่ากันว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพุทธโสธร พระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ ตามประวัติเล่าว่า เดิมเป็นพระพุทธธูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ปางสมาธิ หน้าตักกว้างศอกเศษ รูปทรงสวยงาม เป็นพระพุทธรูปปาฏิหาริย์ลอยทวนน้ำมา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้สันนิษฐานว่าตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2313 สมัยต้นกรุงธนบุรี ภายหลังพระสงฆ์ภายในวัดเห็นความงดงามนี้จะเป็นอันตรายต่อองค์พระเอง จึงได้ช่วยกันนำปูนมาพอกเสริมปั้นหุ้มองค์เดิมไว้ พระพุทธโสธรที่ เห็นในปัจจุบันจึงเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทอง พระพักตร์แบบศิลปะล้านนา พระเกตุมาลาแบบปลี ความกว้างของพระเพลา 3 ศอก 5 นิ้ว หรือ 1 เมตร 65 เซนติเมตร สูง 1 เมตร 98 เซนติเมตร โดย ฝีมือช่างล้านช้าง







เหตุที่วัดนี้ที่ได้ชื่อว่าโสธร มีผู้เฒ่าเล่าสืบกันมาว่าหงส์ซึ่งอยู่บนยอดเสาใหญ่ถูกลมพายุพัดลงมา ครั้นหงส์ตกลงมาแล้วก็เหลือแต่เสาใหญ่จึงมีบุคคลเอาธงขึ้นแขวนแทน เลยเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดเสาธง" ต่อมาเกิดลมพายุกล้าพัดเสาธงหักโค่นลงมาเป้นสองท่อน ประชาชนที่ถือเอาเครื่องหมายเสาธงหักเป็นท่อนนั้น ตั้งชื่อว่า "วัดเสาทอน" ครั้นต่อมาค่อย ๆ เพี้ยนแล้วห้วนเข้าเลยเรียกกันว่า "วัดโสธร" จนกระทั่งปัจจุบันนี้ นามวัด โสธรนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เคยทรงรับสั่งว่า "เป็นนามที่ไพเราะและแปลก ทั้งแปลได้ความดีมาก และทรงสันนิษฐานว่า ผู้ที่ให้ชื่อวัดไว้คงไม่ใช่คนที่ไม่รู้เรื่อง" วัดโสธรเป็นวัดราษฏรมาแต่ดั้งเดิม พึ่งได้รับพระราชทานยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีนามว่า " วัดโสธรวรารามวรวิหาร" เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2501

พระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2531 และทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ น้ำหนัก 77 กิโลกรัม ประดิษฐานเหนือยอดมณฑป ผนังอุโบสถบุด้วยหินอ่อนจากเมืองคาร์ราร่า ประเทศอิตาลี มีจุดเด่นศิลปกรรมบนพื้นแกรนิตภาพมหาสมุทรที่สวยงามวิจิตร ในพระอุโบสถหลังใหญ่นี้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธโสธรองค์จริงเป็นพระประธาน และพระพุทธรูปอื่นรวม 18 องค์ ประดิษฐานในดอกบัวขนาดใหญ่สวยงาม พระอุโบสถสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 พระอุโบสถมีลักษณะทรงไทยประยุกต์ กว้าง 44.50 เมตร ยาว 123.50 เมตร ลักษณะเป็นอาคารหลังคาประกอบเครื่องยอด ชนิดยอดทรงมณฑปแบบไทย ต่อเชื่อมด้วยวิหารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านข้างต่อเชื่อมด้วยอาคารรูปทรงอย่างเดียวกันกับพระวิหาร เป็นอาคารจัตุรมุข ซึ่งเมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นหลังคาแบบจัตุรมุข อย่างอาคารปราสาทแบบไทย จัดเป็นพระอุโบสถที่งดงามมาก และมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก การก่อสร้างพระอุโบสถหลังนี้ สร้างขึ้นครอบพระอุโบสถหลังเดิม โดยใช้เทคนิควิศวกรรมสมัยใหม่ โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายองค์หลวงพ่อพุทธโสธร และพระพุทธรูปทั้ง 18 องค์ ไปไว้ที่อื่นก่อน







การเดินทางไปยังวัดโสธรวรารามวรวิหาร

เดินทางโดยรถส่วนตัว โดยเดินทางมุ่งตรงเข้าไปยังตัวเมืองฉะเชิงเทราแล้วเลี้ยวเข้าถนนมรุพงษ์หรือถนนเรียบแม่น้ำบางปะกง วัดจะ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตรหาง่ายเพราะมองเห็นอุโบสถได้แต่ไกล โดยยึดเอาทางไปศาลากลางเป็นหลัก หาง่ายมีป้ายบอกตลอดการเดินทางครับ

เดินทางโดยรถประจำทาง โดยมีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศออกจากสถานีขนส่งสายเหนือหรือหมอชิตใหม่ใน ทุกๆ วัน สายกรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา เดินทางไปลงยังขนส่งฉะเชิงเทราแล้วใช้รถท้องถิ่นเข้าไปยังวัดโสธรฯ

เดินทางโดยด้วยรถไฟ มีรถไปบริการออกจากสถานีหัวลำโพงไปฉะเชิงเทราทุกวันวันละ 11 ขบวน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1690

กิจกรรมที่น่าสนใจในวัดโสธรวรารามวรวิหาร

ไหว้พระขอพรหลวงพ่อโสธร - ชมพระอุโบสถที่ยิ่งใหญ่ และสวยงาม








สิ่งน่าสนใจอื่นๆในวัดโสธรวรารามวรวิหาร

หลวงพ่อโสธร

อุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร

อุโบสถจำลองหลังนอก มีที่บูชา แก้บนหลวงพ่อโสธร

ตลาดดอกไม้ขนาดใหญ่และเป็นแหล่งของฝากเมืองแปดริ้ว

ประเพณีที่น่าสนใจของวัดโสธรวรารามวรวิหาร

หลวงพ่อโสธรเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนที่นับถือเป็นจำนวนมาก ทางวัดโสธรวราราม และพี่น้องชาวแปดริ้วจึงจัดให้มีงานเทศกาลฉลององค์หลวงพ่อปีหนึ่งมีสองครั้ง

ครั้งที่ 1 งานเดือน 5 เรียกว่างานกลางเดือน 5 เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 14-15 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวม 3 วัน ประมาณเดือนเมษายน ถือกันว่าเป็นงานวันเกิดของหลวงพ่อ หรือวันที่นำองค์หลวงพ่อขึ้นมาจากน้ำ

ครั้งที่ 2 งานเดือน 12 เรียกว่างานกลางเดือน 12 เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 รวม 5 วัน ประมาณเดือนพฤศจิกายน ช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการมาท่องเที่ยววัดโสธรวรารามวรวิหาร

ตลอดทั้งปี

คำแนะนำในการท่องเที่ยว

วัดโสธรวราราม ถือเป็นวัดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทยมีพระพุทธรูปที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองคือพระพุทธโสธร ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง มีพระอุโบสถที่มีศิลปกรรมงดงาม และยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนทั่วทุกภูมิภาค เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทราที่น่าเข้าไปเยี่ยมชมเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้น ยังตั้งอยู่ใกล้สถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่งของเมืองแปดริ้ว เช่น ปติมากรรมทรายระดับโลก,ตลาดบ้านใหม่,ตลาดร้อยปีคลองสวน เราสามารถเดินทางท่องเที่ยวต่อได้สบายหรือจะนั่งเรือท่องแม่น้ำบางปะกงก็ สนุกสนานเพลิดเพลินไปอีกแบบ

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 038-515186, 089-2513923

พระอุโบสถเปิดให้เข้าชม วันธรรมดาเปิด 7.00 น. – 16.-30 น.วันหยุดต่าง ๆ เปิด 7.00 น.-17.00 น.


วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อุทยานแห่งชาติไทรโยค/เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน



อุทยานแห่งชาติไทรโยค กาญจนบุรี

กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางที่มีผู้คนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว เต็มไปด้วยเรื่องราวในอดีตที่น่าสนใจ เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ตั้งของสะพานข้ามแม่น้ำแควซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็น ป่าเขาลำเนาไพร ถ้ำหรือน้ำตก

กาญจนบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 129 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่ามีทั้งป่าโปร่งและป่าดงดิบ มีแม่น้ำสำคัญสองสายคือ แม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อยซึ่งไหลมาบรรจบรวมกันเป็นแม่น้ำแม่กลองที่บริเวณอำเภอเมืองกาญจนบุรี กาญจนบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบ่อพลอย อำเภอเลาขวัญ อำเภอพนมทวน อำเภอไทรโยค อำเภอสังขละบุรี อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง อำเภอทองผาภูมิ อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอหนองปรือ และอำเภอห้วยกระเจา






อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตากและสหภาพเมียนม่าร์

ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดราชบุรีและจังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี

ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพเมียนม่าร์












หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี โทร. 0 3451 1778, 0 3151 2399

ประชาสัมพันธ์จังหวัดกาญจนบุรี โทร. 0 3451 2410, 0 3451 4756

สำนักงานเทศบาลเมืองกาญจนบุรี โทร. 0 3451 1502-2

ที่ว่าการอำเภอเมืองกาญจนบุรี โทร. 0 3451 1040, 0 3462 2952

สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกาญจนบุรี โทร. 0 3462 1040-2

โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา โทร. 0 3462 2999, 0 3451 1233

บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 3451 1387

สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี โทร. 0 3451 1182

สถานีรถไฟกาญจนบุรี โทร. 0 3451 1285

ตำรวจทางหลวง โทร. 1193

ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155


วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อุทยานแห่งชาติคลองลาน/ กำแพงเพชร

อุทยานแห่งชาติคลองลาน/ กำแพงเพชร

ตั้งอยู่ในเขตตำบลคลองลานพัฒนา ตำบลคลองน้ำไหล และตำบลโป่งน้ำร้อน มีเนื้อที่ 187,500 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2525 มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ประกอบด้วยป่าเต็งรัง ป่าดงดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ สัตว์ป่านานาชนิดไม่น้อยกว่า 265 ชนิด 81 วงศ์ เป็นป่าต้นน้ำของลำธารหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก คลองลาน และคลองน้ำไหล ไหลรวมกันสู่แม่น้ำปิง สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบผสมป่าเบญจพรรณ บนเทือกเขาสลับซับซ้อน ภูเขาแต่ละลูกเชื่อมโยงติดต่อกับขุนคลองลานซึ่งเป็นจุดสูงสุดในบริเวณนี้ สูงจากน้ำทะเลประมาณ 1,439 เมตร ช่วงเวลาที่เหมาะจะเดินทางมาท่องเที่ยวคือช่วงเดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ

น้ำตกคลองลาน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 200 เมตร เกิดจากเทือกเขาขุนคลองลานเขาคลองขลุง และเขาคลองสวนหมาก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ไหลลงมาจากหน้าผาสูง 100 เมตร กล้าง 40 เมตร และด้านล่างของน้ำตกเป็นแหล่งน้ำที่ลงเล่นน้ำได้ อยู่ห่างจากตลาดคลองลาน 4 กิโลเมตร










สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ

น้ำตกคลองลาน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 200 เมตร เกิดจากเทือกเขาขุนคลองลานเขาคลองขลุง และเขาคลองสวนหมาก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ไหลลงมาจากหน้าผาสูง 100 เมตร กล้าง 40 เมตร และด้านล่างของน้ำตกเป็นแหล่งน้ำที่ลงเล่นน้ำได้ อยู่ห่างจากตลาดคลองลาน 4 กิโลเมตร

น้ำตกคลองน้ำไหล (น้ำตกปางควาย) อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 25 กิโลเมตร จากทางหลวงหมายเลข 1117 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 35-36 จะมีป้ายบอกทางเข้าอีก 10 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง มี 9 ชั้น ไหลจากหน้าผาสูง 60 เมตร แต่ละชั้นมีแอ่งน้ำและความสูงต่างกัน ลานหินที่นี่กว้างมาก ลำธารสวยด้วยโขดหิน ในชั้นที่ 3 น้ำตกจะแยกเป็น 2 สาย ดูสวยงาม ทางฝั่งขวาไหลลงสู่แอ่งน้ำกว้างประมาณ 3 เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้ มีน้ำไหลตลอดปี

แก่งเกาะร้อย สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1117 เมื่อถึงสามแยกโป่งน้ำร้อนจะมีทางลาดยางแยกเข้าไปประมาณ 16 กิโลเมตร แก่งเกาะร้อยมีลักษณะเป็นลำธารจากคลองสวนหมากไหลผ่านซอกแก่งหินตามลำห้วย มองดูคล้ายเกาะเล็ก ๆ อยู่กลางลำน้ำ จากหน่วยพิทักษ์คลองสวนหมาก จะต้องนั่งรถขับเคลื่อนสี่ล้อเข้าไปตามถนนดินลูกรัง ประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงจุดลงแพ คือตาดผาแดง จากนั้นจะล่องแพผ่านผาชมจันทร์ ตาดช่องแคบ ที่สองข้างทางเป็นโขดหินโอบล้อมอยู่ น้ำค่อนข้างแรง จากนั้นจะล่องผ่านแก่งเกาะร้อย บริเวณนี้น้ำจะแรงและมีแก่งมาก ให้ความตื่นเต้นแก่นักล่องแก่งได้พอสมควร ใช้เวลาในการล่องประมาณ 1.5 ชั่วโมง สำหรับความยากในการล่องอยู่ระดับ 2-3 นอกจากนั้นใกล้ ๆ หน่วยพิทักษ์คลองสวนหมากยังมีถ้ำไทรหายโศก ห่างจากหน่วยพิทักษ์ฯ 2 กิโลเมตร ซึ่งอยู่บริเวณใต้ผาชมจันทร์ ในถ้ำจะมีหินงอกหินย้อยและค้างคาวจำนวนมากอาศัยอยู่ และถ้ำยาวสันติสุข ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามและค้างคาวอาศัยอยู่เช่นเดียวกัน ทั้ง 2 ถ้ำ หากสนใจจะไปเที่ยวชม ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์ฯ นำทางเข้าไปและต้องเตรียมไฟฉายไปเอง การล่องแก่งเกาะร้อย เวลาที่เหมาะจะล่องคือระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม เป็นช่วงที่มีน้ำมาก จะทำให้การล่องแก่งมีความสนุกสนานมากขึ้น นอกจากนั้นบริเวณหน่วยพิทักษ์ฯ มีสถานที่กางเต็นท์สำหรับผู้ที่ต้องการจะสัมผัสกับธรรมชาติที่ยังไม่ค่อยมีผู้ใดเข้าไปสัมผัสมากนัก แต่ต้องนำเต็นท์และอุปกรณ์ในการทำอาหารไปเอง เพราะยังไม่มีร้านค้าให้บริการ และหากสนใจจะล่องแก่งเกาะร้อยสามารถติดต่อได้ที่ อุทยานแห่งชาติคลองลาน หรือ บริษัท ฟูจิทัวร์ โทร. 0 2518 0240, 0 2918 6067-8 ชากังราวการท่องเที่ยว โทร. 0 5572 0383










อุทยานแห่งชาติคลองลาน มีบ้านพัก 6 หลังสำหรับผู้ที่ต้องการพักเต็นท์ต้องนำเต็นท์ไปเองโดยเสียค่าธรรมเนียมสถานที่กางเต็นท์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติคลองลาน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร 62180 โทร. 0 5576 6022-3 ติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 หรือสำรองที่พักด้วยตนเองที่ http://www.dnp.go.th

การเดินทาง โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ มาประมาณ 17 กิโลเมตร ถึงหนองเบนจะมีทางแยกซ้ายมือเข้าอำเภอลาดยาว จากนั้นใช้ทางหลวง 1072 ลาดยาว คลองลาน ระยะทาง 102 กิโลเมตร ถึงสี่แยกตลาดคลองลานตรงไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ หรือจากตัวจังหวัดกำแพงเพชรใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงกิโลเมตรที่ 346 บ้านคลองแม่ลาย ใช้เส้นทางแยกขวาไปอำเภอคลองลาน ตามทางหลวง 1117 สายคลองลานอุ้มผาง ระยะทาง 46 กิโลเมตร ถึงสี่แยกตลาดคลองลาน แยกขวามือไปอุทยานฯ อีก 6 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย หรือนั่งรถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งจังหวัด หรือรถสองแถวจากท่ารถถนนวิจิตร ใช้รถสายกำแพงเพชร-คลองลาน ลงที่สี่แยกตลาดคลองลานแล้วเหมารถสองแถวหรือมอเตอร์ไซด์ไปยังที่ทำการอุทยานฯ


อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า กำแพงเพชร/เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน




อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า

อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชรระยะทางประมาณ 43 กิโลเมตร เป็นผืนป่าที่สมบูรณ์ มีเนื้อที่ 466,875 ไร่ มีไม้สักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างหนาแน่น มีน้ำตกที่สวยงามน่าท่องเที่ยวหลายแห่ง ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2533 นอกจากนั้นใกล้ ๆ อุทยานฯ ยังมีหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง ซึ่งยังมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบเดิม

อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีสถานที่น่าสนใจ อาทิ น้ำตกคลองวังเจ้า ห่างจากที่ทำการ 1.5 กิโลเมตร สูง 20 เมตรน้ำตกคลองสมอกล้วย มี 4 ชั้น ห่างจากที่ทำการ 1.5 กิโลเมตร มีน้ำไหลตลอดปีจุดชมวิวผาตั้ง ห่างจากที่ทำการ 3 กิโลเมตร อยู่ริมทางที่จะไปหมู่บ้านโละโคะ ชมพระอาทิตย์ลับทิวเขาได้ โป่งแก๊สธรรมชาติ มี 2 แห่ง คือทางไปน้ำตกคลองโป่ง และน้ำตกเต่าดำ ประมาณ 1,500 เมตร น้ำตกคลองโป่ง มี 4 ชั้น เป็นน้ำตกหินชนวน สูง 100 เมตร พบกล้วยไม้ประเภทลิ้นมังกรบริเวณน้ำตกได้ การเดินทางต้องค้างคืน 1 คืน น้ำตกเต่าดำ มี 2 ชั้น เป็นน้ำตกใหญ่ที่น้ำไหลดิ่งลงมาจากหน้าผา แต่ละชั้นสูง 200 เมตร ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติฯ 34 กิโลเมตร ทางไปน้ำตกถนนไม่ดีต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ เส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติ สวนไผ่ ระยะทาง 2 กิโลเมตร มีพันธุ์ไผ่กว่า 20 ชนิดให้ศึกษาค้นคว้า

อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ และร้านอาหาร ไว้บริการนักท่องเที่ยว

สอบถามข้อมูลได้ที่ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ตู้ ป.ณ. 69 ปณจ. กำแพงเพชร 62000 โทร. 0 5576 6006–7, 0 5576 6048 หรือ 0 2562 0760 หรือ www.dnp.go.th

การเดินทาง

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงหมายเลข 1 ก่อนถึงตลาดวังเจ้า เลี้ยวซ้ายมือเข้าบ้านโละโคะ ประมาณ 36 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้าย เมื่อถึงสามแยกบ้านเด่นคาเลี้ยวซ้ายตามป้ายอุทยานฯ จะถึงบ้านโละโคะตรงเข้ามา 21 กิโลเมตร บริเวณวัดหนองแดนอีก 7 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ

หรือนั่งรถโดยสารประจำทางที่จะไปจังหวัดตาก ลำปาง เชียงใหม่ ลงที่ตลาดวังเจ้า แล้วต่อรถหนองแดน หรือมอเตอร์ไซค์ก็สามารถมาอุทยานฯ ได้เช่นเดียวกัน

ข้อแนะนำในการเข้าชมโบราณสถาน

- ศึกษาข้อมูลรายละเอียดสถานที่ต่างๆ ก่อนไป ติดต่อวิทยากรผู้ให้ความรู้ เช่น พระ ชาวบ้านในท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล

- แต่งกายให้สุภาพ สำรวมกิริยาวาจา ถอดรองเท้า และเก็บให้เรียบร้อยก่อนเข้าโบสถ์ และเขตศาสนสถาน

- ระวังไม่ทำให้โบราณวัตถุ โบราณสถาน แตกหักเสียหาย เดินตามทางเดินที่อนุญาต ไม่จับ สัมผัส อาคารโบราณสถาน โดยเฉพาะส่วนที่เป็นลวดลายแกะสลักหรือภาพเขียนสี ไม่ลักลอบขุดค้นโบราณวัตถุ และโบราณสถาน

- การถ่ายภาพไม่ควรใช้แฟลช เพราะอาจทำให้โบราณวัตถุโบราณสถานเสียหายได้

ข้อแนะนำในการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ เดินป่า

- สอบถามข้อมูลของสถานที่ที่จะไป เพื่อจะได้เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม

- เตรียมอุปกรณ์เดินป่าที่คล่องตัวและจำเป็น เช่น ถุงนอน เต็นท์ ผ้ายางกันฝน ยารักษาโรค ไฟฉาย มีดพก ยาไล่แมลง และเข็มทิศ

- ศึกษาฤดูกาลของธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ นกอพยพ เตรียมกล้องส่องทางไกล สมุดบันทึก ดินสอปากกา และแผนที่

- ศึกษาเส้นทางตรวจดูแผนที่ก่อนออกเดินทาง เลือกเส้นทางเดินตามสันเขาจะเดินง่ายกว่าตามหุบเขา และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด

แคมป์ปิง

- เตรียมเต็นท์ ถุงนอน ผ้าใบกันฝน อุปกรณ์เครื่องครัว เช่น หม้อสนาม เตาแก๊ส เตาน้ำมัน อาหารแห้ง น้ำดื่ม รองเท้าผ้าใบ และหมวก

- ตรวจสอบทิศทางลมก่อนกางเต็นท์ และกางเต็นท์ต้นลม ส่วนกองไฟ ห้องส้วม ต้องอยู่ใต้ลม กางเต็นท์บนเนินหรือที่สูงอยู่ในที่โล่งริมห้วย

- กวาดเศษหญ้า ใบไม้ ก่อนตั้งแคมป์ เพราะอาจเป็นที่อยู่ของแมลงสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ

- หาเชื้อฟืนจากเศษไม้ในป่า/คลื่นซัด มาติดหาดและดับกองไฟก่อนเข้านอน ดูแลความสะอาดทุกครั้งที่เก็บแคมป์ให้เหมือนสภาพเดิม

การเดินทาง

การเดินทางโดยรถยนต์ มีให้เลือก 2 เส้นทางด้วยกัน

เส้นทางที่ 1 จาก จ.กำแพงเพชร ไป จ.ตาก ตามถนนสายเอเซีย (A1) ถึงสี่แยกตลาดวังเจ้า เลี้ยวซ้าย เมื่อถึงแยกเด่นคา เลี้ยวซ้ายไปตามป้ายอุทยานฯ จะไปบรรจบกับเส้นทางที่ 2 บริเวณบ้านหนองแดน ให้เลี้ยวขวาอีก 7 กม. ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า

เส้นทางที่ 2 จาก จ.กำแพงเพชร ไป จ.ตาก ตามถนนสายเอเซีย (A1) ก่อนถึงสี่แยกบ้านวังเจ้าประมาณ 500 ม. แยกซ้ายมือไปบ้านโละโคะ ประมาณ 21 กม. จะบรรจบกับเส้นทางที่ 1 ที่บ้านหนองแดน ตรงไปอีก 7 กม. ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ทั้งสองเส้นทางสามารถเดินทางโดยสะดวกตลอดทั้งปี


พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ/ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขา






พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ

ตั้งอยู่เลขที่ 104/5 ถนนปิ่นดำรห์ อยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ภายในเขตกำแพงเมืองเก่าของจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี สร้างด้วยไม้สักเป็นเรือนไทยหมู่แบบเรือนไทยภาคกลาง พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรฯ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนของประวัติศาสตร์เมือง ส่วนของมรดกดีเด่น เช่น หินอ่อน แหล่งน้ำมัน และส่วนของชาติพันธุ์วิทยา แสดงถึงชนเผ่าต่างๆ เช่น มูเซอ กะเหรี่ยง ลีซอ การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น มีห้องโสตทัศนูปกรณ์ และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้ระบบมัลติมีเดีย มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองของจังหวัด ผลิตภัณฑ์ชาวเขาและกลุ่มแม่บ้าน นอกจากนั้นมีศูนย์จริยศึกษา เพื่อฝึกหัดอบรมงานประณีตศิลป์ ศิลปประดิษฐ์ สำหรับเยาวชนในวัยเรียน ซึ่งจะเป็นนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัด โดยจะสอนเกี่ยวกับพุทธศาสนา มรรยาท การแกะสลัก ร้อยมาลัย ซึ่งจะเปิดสอนเฉพาะวันอาทิตย์

และในบริเวณยังมีสวนกล้วย กว่า 200 สายพันธุ์ ซึ่งมีทั้งกล้วยพื้นบ้านไทย และพันธุ์กล้วยนานาชาติ อาทิเช่น กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยตานีดำ กล้วยคุณหมิง กล้วยหอมแกรนด์เนนม กล้วยพม่าแหกคุก กล้วยน้ำว้าลูกไส้ดำ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้วยน้ำหมาก ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทย

พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 09.00 - 16.30 น. ค่าผ่านประตู 10 บาท ค่าเข้าชมมัลติมีเดีย 250 บาท/คณะ สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 5572 2341-2






ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขา

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน ห่างจากจังหวัดกำแพงเพชร 60 กม. เป็นแหล่งศูนย์กลางข้อมูลการท่องเที่ยวชาวเขา และรวบรวมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเขา จำนวน 6 เผ่า คือ ม้ง เย้า มูเซอ ลีซอ กะเหรี่ยง และลัวะ และมีบ้านพักไว้บริการให้กับนักท่องเที่ยว โดยได้จำลองบ้านของชาวเขาเข้าอยู่ในศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาหมู่บ้าน ตลอดทั้งมีพื้นที่กางเต็นท์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จัดให้มีการแสดงของเยาวชนเผ่าม้ง เย้า และลีซอ ไว้ให้กับนักท่องเที่ยว ชมวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าต่างๆ และมีสินค้าหัตถกรรมผ้าปักเครื่องเงิน ของชาวเขาจำหน่าย เป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว ผู้สนใจติดต่อได้ที่ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร โทร. 0 5578 6250 หรือ สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร โทร. 0 5571 1455


สินค้ารวม